pbfd vet

PBFD โรคในนกที่กำลังระบาด

PBFD โรคในนกที่กำลังระบาด PBFD (Psittacine beak and feather disease) หรือโรคไวรัสปากและขนในนกแก้ว

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส Beak and Feather disease Virus (BFDV) Circovirus ชนิดที่ก่อโรครุนแรงคือ PBFD-1 โดยจะพบมากในนกแก้วเป็นหลัก โดยพบรายงานครั้งแรกในนกกระตั้ว แต่จริงๆพบในนกหลายชนิดเช่น กาล่า มอลัคคั่น แอฟริกันเกรย์ มีรายงานการพบมากว่า 100 ปีในออสเตรเลีย ในนกท้องถิ่นอเมริกาเกิดน้อยกว่าแถบเอเชีย

อาการของโรค PBFD

มีความหลากหลาย เกิดความผิดปกติของการสร้างขน เล็บ ปาก และเซลล์ที่กำลังพัฒนา เช่น เม็ดเลือด และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 3 ปี บ้างก็เป็นเรื้อรัง แต่บางตัวก็ตายไปโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างรวดเร็ว

โรคอาจเป็นรุนแรงในนกบางชนิด เช่น กระตั้ว แต่อาจหายเองได้เท่าที่มีการศึกษาในบางนกเช่น โนรี หรืออีเคล็กตัส และในบางพันธ์ของนกแก้ว อาจไม่ปรากฎอาการ เช่น นกแก้วเล็กพวกพาราคีท อาการมักพบในนกอายุน้อย ในนกแก้วที่แข็งแรง ก็อาจไม่ปรากฎอาการ

ในเลิฟเบิร์ด อาการส่วนใหญ่จะไม่มาก ส่วนในแอฟริกันเกรย์อายุน้อย จะมีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันมาก ก่อให้เกิดการติดเชื้ออื่นเช่นเชื้อรา

pbfd vet

ความรุนแรงของอาการแบ่งเป็น 4 รูปแบบ

 แบบเฉียบพลันมาก (peracute form) พบมากในลูกนก นกลูกป้อน
โดยจะทำให้นกมีการย่อยอาหารช้าลง ส่วนใหญ่จะเป็นในกระตั้วและแอฟริกันเกรย์ อาการที่พบได้แก่ กระเพาะพักไม่เคลื่อน ปอดอักเสบ ถ่ายเหลว อาเจียน น้ำหนักลด และเสียชีวิตในที่สุด มักจะไม่พบความผิดปกติของคนจึงมักถูกมองข้าม

 แบบเฉียบพลันกับระบบเลือด (acute hematologic form) มักพบหลังหย่าลูกป้อน
โดยนกที่ป่วยจะมีค่าเม็ดเลือดแดงที่ต่ำ (anemia) ค่าเม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia) หรือเม็ดเลือดต่ำทุกระบบ (Pancytopenia) นกจะมีอาการอ่อนแรงและติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย โดยจะไม่มีอาการทางขนเช่นเดียวกัน อัตราตาย 100%

 แบบเฉียบพลันกับระบบผิวหนัง (acute dermatologic form) มักพบในช่วงอายุ 30 วัน
จะพบการสร้างขนที่ผิดปกติ เช่น ขนขึ้นไม่สมบูรณ์ ขนแตกหักง่าย คดงอ จะมีการงอกของขนก้านแข็ง แทนขนอุย พบจุดเลือดออกตามบริเวณรากขน และพบอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น กระเพาะไม่เคลื่อนตัว หรือเคลื่อนตัวช้า พบในกระตั้ว แอฟริกันเกรย์ เลิฟเบิร์ด

 แบบเรื้อรัง (chronic form) พบได้ทุกช่วงอายุ พบบ่อยที่สุด
มักพบในนกที่อายุน้อยกว่า 3 ปี โดยจะมีอาการหลักที่ขนชัดเจนกว่าทุกแบบ เช่นขนร่วงทั้งตัว ขนเจริญผิดรูป พบรอยขีดตามเส้นขน (stress line) ขนอ่อนแอแตกหักง่าย รากขนเป็นกระเปาะ โดยอาจจะไม่ตายง่ายเว้นแต่ว่ามีโรคแทรกซ้อน

ขนจะร่วงจากขนอุยก่อน จากนั้นร่วงที่ขนปกคลุมร่าง จนในที่สุดไปยังขนที่แข็งแรง เช่นปีกและหาง จงอยปากและเล็บผิดปกติ แผลในปาก

การรักษาและการหายได้เองของ PBFD

อย่าตกใจถ้าผลบวก เพราะในนกแก้วบางพันธ์ สามารถหายได้ เช่น lorikeets และ Eclectus sp. การรักษา ในนกที่มีอาการน้อยก็ประสบผลสำเร็จได้ดี เช่นการรักษาโดยใช้ยา อินเตอร์เฟียรอน อัลฟ่า (Interferon alpha)(1)

มีการศึกษาหนึ่ง ใช้ b-(1,3/1,6)-D-glucan จาก เห็ดชนิดหนึ่ง ได้ผลดี ในการรักษา กระตั้วที่มีอาการน้อย ในระยะเวลา 9 เดือน(2)

การรักษาส่วนใหญ่คือ การรักษาประคับประคองเพื่อให้ภูมิคุ้มกันของนกดีขึ้น wfhcdj

  • ลดอาการเครียดของนก จัดสิ่งแวดล้อมให้นกเครียดน้อย
  • อาหาร ให้อาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารต่างๆอย่างเหมาะสม ให้ผลไม้สด ผัก ธัญพืช
  • รักษาการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่นเชื้อรา แบคทีเรีย

การป้องกันการติดต่อ PBFD

การติดต่อผ่านทางฝุ่นขน และสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของนก เช่น มูลนก น้ำตา น้ำลาย จะไปปนเปื้อนในอาหาร น้ำ ตามสิ่งแวดล้อม การแยกนกป่วยออก เป็นเรื่องสำคัญ

ถึงแม้เชื้อจะค่อนข้างทนต่อความแห้งและสภาวะอากาศ แต่ไม่ทนต่อการใช้สารละลายเจือจางครอรีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ F10 ที่ใช้กันอยู่

ที่ Vetazoo มีบริการครบวงจร ทั้งตรวจ ส่งPCR และมียารักษา สนใจติดต่อมาได้ค่ะ

reference:

1.Identification of a sequence from the genome of porcine circovirus type 2 with an inhibitory effect on IFN-alpha production by porcine PBMCs

J Gen Virol (2003), pp. 842937-842945

2.Psittacine circovirus infection in parakeets of the genus Eunymphicus and treatment with B-(1,3/1,6)-D-Glucan

Avian Dis, 514 (2007), pp. 989-991

Abstract

Eight captive-bred horned parakeets (Eunymphicus cornutus) and four captive-bred Major Mitchell cockatoos (Cacatua leadbeateri) from the same aviary tested positive for psittacine circovirus (PsCV) DNA in whole blood by nested–polymerase chain reaction (PCR). The chronic form of disease with feather fragility and loss was observed in three horned parakeets. Infection in other individuals was subclinical. Immunosuppression, either hematologically or as susceptibility to secondary infections, was not observed. Treatment consisted of the administration of β-(1,3/1,6)-d-glucan from oyster mushroom (Pleurotus ostreatus). Excluding two accidentally dead parakeets, four out of the original six horned parakeets, and all Major Mitchell cockatoos were negative for PsCV DNA in whole blood in 7–9 mo after the treatment was started. Even though the absence of PsCV DNA in blood does not signify elimination of the virus from the whole organism, these preliminary results indicate a possible effect of β-glucan in the treatment of PsCV infection. To the author’s knowledge, this is the first report of PsCV in horned parakeets.

Comments are closed.